ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตาม
พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. ๒๕๖๐
ความเป็นมาและเหตุผลของการจัดทำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
โดยที่ขณะนี้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติราชทัณฑ์
พ.ศ. ๒๕๖๐[1] (ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๐)ซึ่งเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้
ตามที่ปรากฏในหมายเหตุ ท้ายพระราชบัญญัติฯ คือ พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช
๒๔๗๙ ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานและมีบทบัญญัติบางประการไม่สอดคล้องกับนโยบาย
ทางอาญาของประเทศ ประกอบกับมีกฎหมายและกฎเกณฑ์ในระดับสากลที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติ
ต่อผู้ต้องขังประเภทต่าง ๆ และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่
ซึ่งมิได้มีการบัญญัติไว้ ในพระราชบัญญัติดังกล่าว ส่งผลให้การดำเนินงานต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องไม่สอดคล้องตามมาตรฐานสากล อาทิ
ข้อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำสำหรับปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง (Standard Minimum Rules for the Treatment of Prisoners /SMR) หรือข้อกำหนด ของสหประชาชาติ
สำหรับการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำและมาตรการที่มิใช่การควบคุมขัง สำหรับผู้กระทำผิดหญิง(United Nations Rules for the Treatment of Women Prisoners and Non - Custodial Measures for Women Offenders) หรือ ข้อกำหนดกรุงเทพ (Bangkok Rules) รวมทั้งยังไม่สามารถจัดการหรือบริหารโทษของผู้ต้องขังเฉพาะรายหรือเฉพาะ
คดีได้อย่างเหมาะสม เนื่องจากไม่มีบทบัญญัติให้อำนาจในการดำเนินการ และไม่สามารถ ดำเนินการให้มีสถานที่ควบคุมหรือคุมขังผู้ต้องขังประเภทอื่น
นอกจากการคุมขังไว้ในเรือนจำ
ซึ่งทำให้ระบบการพัฒนาพฤตินิสัยและการบริหารงานเรือนจำ
ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ สมควรกำหนดให้มีคณะกรรมการราชทัณฑ์
เพื่อกำหนดนโยบายและทิศทางในการบริหารงาน ราชทัณฑ์ และปรับปรุงกฎหมายให้สามารถแก้ไข
บำบัด ฟื้นฟู และพัฒนาพฤตินิสัยของผู้ต้องขัง
กับทั้งเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาอื่นในการบริหารจัดการกระบวนงานของกรมราชทัณฑ์ เพื่อให้เกิด
ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
นอกจากนี้ประเทศไทย ยังคงต้องผูกพันตามพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชน
ขององค์การ
สหประชาชาติหลายฉบับที่เกี่ยวกับผู้ต้องขัง เช่น กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง[2] (International Covenant on Civil
and Political Rights) อนุสัญญาต่อต้านการทรมาน และการประติบัติหรือ
การลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and
Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment[3]) ด้วย
สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)
มีกิจกรรมด้านการส่งเสริมการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักการสิทธิมนุษยชน
และที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสิทธิผู้ต้องขัง รวมถึงการรณรงค์ยกเลิกโทษประหารชีวิต
เห็นเป็นโอกาสดีที่กรมราชทัณฑ์ได้จัดการตราพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. ๒๕๖๐
ซึ่งมีมาตรการที่ชัดเจนในการดำเนินการที่ดีขึ้นอย่างน้อย ๒ ประการ กล่าวคือ
๑. การบริหารงานเรือนจำ
· กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายการราชทัณฑ์
โดยมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย
ด้านการราชทัณฑ์
และกำหนดทิศทางกระบวนการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง เพื่อให้การดำเนินงาน
ของกรมราชทัณฑ์มีทิศทางและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
· กำหนดให้มีคณะอนุกรรมการที่สำคัญและขึ้นตรงต่อคณะกรรมการฯ
2 คณะ ได้แก่
คณะอนุกรรมการตรวจเรือนจำ
มีอำนาจหน้าที่ให้ความเห็นและเสนอแนะในการดำเนิน กิจการเรือนจำตามหลักการทางด้านอาชญาวิทยาและทัณฑวิทยาแก่กรมราชทัณฑ์
รวมทั้งทำการตรวจกิจการเรือนจำและให้คำแนะนำแก่เจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่
และคณะอนุกรรมการรับเรื่องราวร้องทุกข์มีอำนาจหน้าที่ในการรับเรื่องราวร้องทุกข์หรือเรื่องราว
ใด ๆ จากผู้ต้องขัง
๒.การเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย
·
กำหนดให้มีกระบวนการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย
โดยให้กระบวนการนี้เริ่มต้นตั้งแต่มีการรับตัวผู้ต้องขัง
เพื่อให้สอดคล้องกับโปรแกรมการพัฒนาพฤตินิสัย
ตามที่กรมราชทัณฑ์หรือเรือนจำได้จัดเตรียมให้หลังจากผ่านระบบการจำแนกมาแล้ว
และกำหนดให้เรือนจำต้องดำเนินการจัดเตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ ให้กับผู้ต้องขัง
เพื่อให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้
อย่างไรก็ตามสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชนเห็นว่ายังมีประเด็นที่ต้องมีการดำเนินการตรากฎหมายลำดับรองให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์
พ.ศ. ๒๕๖๐
ที่สอดคล้องกับแนวปฏิบัติตามมาตรฐานสหประชาชาติและสนธิสัญญาที่ประเทศไทยเป็นภาคี จึงขอเสนอข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
เพื่อการดำเนินการดังกล่าว ดังต่อไปนี้
พรบ.ราชทัณฑ์
|
ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ
|
หมายเหตุ
|
|
๑.การปฏิบัติต่อผู้ถูกคุมขัง
· การแยกผู้คุมขังประเภทต่างๆ
|
มาตรา ๓๑ การจำแนก
ประเภทหรือชั้นของเรือนจำ ให้รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยอาศัยเกณฑ์อย่างหนึ่งอย่างใด
ดังต่อไปนี้
(๑) เพศของผู้ต้องขัง
(๒) สถานะของผู้ต้องขัง
(๓) ความประสงค์ในการพัฒนาพฤตินิสัยของผู้ต้องขัง
(๔) ความมั่นคงของเรือนจำ
(๕) ลักษณะเฉพาะทางของเรือนจำ
|
ไม่มีบทบัญญัติว่าด้วยผู้ต้อง
ขังที่อยู่ระหว่างพิจารณา
คดี
ดังนั้นต้องจัดให้ มีระเบียบว่าด้วยการนี้ โดยในระเบียบดังกล่าว ต้องถือว่าบุคคลที่อยู่ระหว่างพิจารณาคดี
เป็นผู้บริสุทธิ์ ดังนั้นจะปฏิบัติต่อผู้นั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดแล้ว ไม่ได้
โดยห้ามการดำเนิน การ ดังนี้
๑.ห้ามการตรวจภายในสตรี โดยวิธีละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิในร่างกาย
แต่ให้ใช้เครื่องมือทางวิทยาศาตร์อื่น
๒. ห้ามตัดผมหรือให้ผู้นั้น สวมชุดนักโทษเช่นเดียวกับผู้ที่ศาลตัดสินแล้ว
๓.ห้ามให้บุคคลดังกล่าว
ทำงานของเรือนจำ
เช่นผู้ต้องขังอื่น แต่ต้องจัดให้อยู่ในห้องที่จัด เป็นสัดส่วนแยกต่างหากจากผู้ต้องขังที่ศาลตัดสินแล้ว
๔. ห้ามตีตรวนผู้นั้นเมื่อ
มีการนำตัวไปขึ้นศาล แต่ให้ใช้วิธีอื่นเพื่อป้องกัน การหลบหนีหรือทำอันตรายผู้อื่น
โดยไม่ละเมิดสิทธิในร่างกาย เช่น ใช้เครื่อง EM หรือ การจัดให้ผู้พิพากษา เข้ามาพิจารณาคดีในเรือนจำ
เป็นต้น
|
|
๒.ขั้นตอนปฏิบัติและการลง
โทษทางวินัย
·
องค์ประกอบอำนาจในการลงโทษ
·
โอกาสในการอุทธรณ์รวมทั้งการมีตัวแทนช่วยร้องเรียน
·
ประเภทของการลงโทษ
·
การตรวจวสุขภาพโดยแพทย์ขณะที่ถูกจับ
·
ห้องขังเพื่อการลงโทษ
|
ผู้ต้อง ขังกระทำผิดวินัย จะถูกลงโทษตามหลัก เกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่ กำหนดในกฎกระทรวง
·
มาตรา ๒๓ เจ้าพนักงานเรือนจำอาจใช้อาวุธปืนแก่ผู้ต้องขังได้
|
·
การลงโทษทางวินัย
ด้วยการขังเดี่ยวควร พิจารณายกเลิกหรือจำกัด
การใช้วิธีการนี้ เพราะการขังเดี่ยวเป็นเวลานาน (๑ เดือน ถือว่านาน) อาจถือว่าเป็นการทรมานที่
ต้องห้ามตามอนสัญญาต่อต้านการทรมานฯ
·
การใช้อาวุธปืนของ
เจ้าพนักงานเรือนจำนอกจากที่กำหนดไว้ในมาตรา ๒๓
แล้วต้องคำนึงถึงการใช้อาวุธปืนเฉพาะในสภชถานการณ์ที่วิธีการป้องกันอันตรายอย่างอื่นใช้ไม่ได้ผลแล้วและต้องไม่จงใจใช้อาวุธยิงเสียให้ตาย
แต่ต้องใช้เพื่อกรณีปกป้องชีวิตของตนและผู้อื่นเท่านั้น
|
|
๓.ขั้นตอนการปฏิบัติเกี่ยว
กับข้อร้องเรียน
|
มาตรา
๖๙ เมื่อผู้ต้องขัง กระทำผิดวินัย จะถูก ลงโทษ การดำเนินการ
อุทธรณ์ให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
|
·
กฎกระทรวงว่าด้วย
การอุทธรณ์การลงโทษทางวินัยแก่ผู้ต้องขัง
ควรระบุสาระสำคัญ ดังนี้
๑.การ ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติ
ตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน เรือนจำ ข้อบังคับเรือนจำ หรือระเบียบกรมราชทัณฑ์ พฤติกรรมอย่างไร
จึงถือว่าเป็นความผิดวินัย
๒.สิทธิในการแสดงความเห็นก่อนการลงโทษทางวินัย
๓. สิทธิในการขออุทธรณ์ต่อหน่วยงานระดับสูง
๔.ประเภทและระยะเวลาการลงโทษ
๕.หน่วยงานที่ระบุว่าให้ลงโทษดังกล่าว
๖.ควรกำหนดมาตรการอื่นนอกเหนือจากการลงโทษทางวินัยไว้ด้วย
|
|
๔.สภาพห้องขังทางกายภาพ
·
ความจุของห้องขัง/การรองรับผู้ถูกคุมขังจริง
·
|
กำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิผู้ต้องขังให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น
เช่น
อนามัยผู้ต้องขัง
การติดต่อผู้ต้องขัง
เป็นต้น
·
|
·
ไม่มีบทบัญญัติว่า
ด้วยความจุของห้องขัง/การรองรับผู้ถูกคุมขังจริง
·
สภาพทางกายภาพ
แสงสว่าง การระบายอากาศ ระบบสุขภัณฑ์ สุขอนามัย
|
|
๕.อาหาร
·
งบประมาณ /หัว/มื้อ(ปริมาณ คุณภาพ ความหลากหลาย)
|
·
|
·
ไม่มีบทบัญญัติว่า
ด้วย งบประมาณด้านอาหาร
/หัว/มื้อ(ปริมาณ คุณภาพ ความหลากหลาย)
|
|
๖. สุขอนามัยส่วนบุคคล
·
ที่อาบน้ำ
·
อุปกรณ์
·
เครื่องนอน
·
โอกาสการซักผ้า
|
· กำหนดบท
บัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิผู้ต้องขังให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น
เช่น อนามัยผู้ต้องขัง
|
·
ไม่มีบทบัญญัติว่า
ด้วยสุขอนามัยอย่างอื่นนอกจากการรักษาพยาบาล เช่น
ที่อาบน้ำ อุปกรณ์เครื่องนอน โอกาสการซักผ้า
|
|
๗.
การติดต่อกับโลก
ภายนอก
· การเยี่ยม
· จดหมาย/พัสดุ
· โทรศัพท์
|
มาตรา ๖๐ ผู้ต้องขังพึง
ได้ รับการอนุญาตให้ ติดต่อกับบุคคลภายนอกตามระเบียบกรม ราชทัณฑ์
มาตรา ๒๙ ระเบียบว่าด้วยการให้เจ้าพนักงานเรือนจำมีอำนาจตรวจสอบจดหมาย
เอกสาร พัสดุภัณฑ์ หรือสิ่งสื่อสารอื่น หรือสกัดกั้นการติดต่อสื่อสารทางโทรคมนาคมหรือโดยทางใดๆซึ่งมีถึง
หรือจากผู้ต้องขัง
|
· ควรยกเลิกระเบียบ
ว่าด้วยการให้ผู้ต้องขังระบุ
ชื่อบุคคลที่จะเข้าเยี่ยม
· ผู้ต้องขังต่างชาติที่
ไม่มีตัวแทนด้านการทูตหรือกงสุลในประเทศไทยและบุคคลไร้สัญชาติ
ต้องได้รับการ อำนวย ความสะดวกในการ ติดต่อไม่น้อยไปกว่าที่จัดให้ ได้รับการติดต่อกับผู้แทน
ประเทศตนหรือได้รับการติดต่อจากหน่วยงานภายใน ประเทศหรือหน่วยงาน
ระดับสากลที่ทำหน้าที่คุ้ม
ครองบุคคลเช่นนั้น
· ระเบียบตามมาตรา
นี้
ต้องดำเนินการตาม ความมุ่งหมายพิเศษเพื่อการรักษาความมั่นคงของรัฐ
หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เท่านั้น
ซึ่งอย่างไรคือ ความมั่นคงของรัฐ
หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ต้องตีความโดยเคร่งครัด
|
|
๘.
บริการด้านการแพทย์
·
|
มาตรา ๕๔ ให้เรือนจำทุกแห่งจัดให้มีสถานพยาบาล
เพื่อเป็นที่ทำการรักษาพยาบาลผู้ต้องขังที่ป่วย จัดให้มีแพทย์ พยาบาล
หรือเจ้าพนักงานเรือนจำที่ผ่านการอบรมด้านการพยาบาล
ซึ่งอยู่ปฏิบัติหน้าที่เป็นประจำที่สถานพยาบาลนั้นด้วย อย่างน้อยหนึ่งคน
ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามระเบียบกรมราชทัณฑ์
|
·
ระเบียบตามมาตรา
นี้ ควรระบุประเด็นสำคัญ ดังนี้
๑. ให้ดำเนินการตรวจ ร่างกายผู้ต้องขังทันที
เพื่อคัดกรองแยกผู้ที่สงสัยว่าจะติดเชื้อที่เป็นอันตรายหรืออาจเป็นโรคระบาด
๒. บันทึกการตรวจร่างกาย
เพื่อหาร่องรอยการได้รับ การทรมาน
๓. ควรจัดให้มีแพทย์หรือ พยาบาลผู้เชี่ยวชาญในด้าน
ใดด้านหนึ่งไว้ประจำเมื่อมี
การคัดกรองแล้วพบว่าผู้ต้องขังส่วนใหญ่มีโรคประจำตัวที่ต้องได้รับการดูแลพิเศษ
๔. การตรวจร่างกายต้อง
เคารพศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์ของพวกเขาและผล การตรวจต้องได้รับการ
รักษาไว้เป็นความลับ ระหว่างแพทย์และคนไข้
๕.การปฏิเสธไม่ให้ได้รับการตรวจรักษาถือเป็นการ
ทารุณตามกฎหมายระหว่างประเทศและควรได้พบ แพทย์โดยไม่ชักช้า หากไม่ใช่กรณีฉุกเฉิน
ต้องได้พบภายใน ๑ วัน
๖. ควรมีการประเมินคัดกรอง ภาวะทางจิตใจ
( Mental
Health Assessment) โดยผู้มีอาการวิกลจริตต้อง ไม่ถูกคุมขังในเรือนจำ
แต่ต้องส่งตัวไปหน่วยงาน ด้านจิตเวชทันที หรือจัดให้มี การตรวจทางจิตเวชโดย
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญในเรือนจำ และผู้นั้นต้องได้รับการดูแล
เป็นพิเศษจากเจ้าหน้าที่ ด้านการแพทย์
|
|
๙. การบริหารงานเรือนจำ
|
· กำหนดให้มี
คณะกรรมการนโยบาย การราชทัณฑ์
โดยมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายด้านการราชทัณฑ์
และกำหนดทิศทางกระบวนการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง
เพื่อให้การดำเนินงานของกรมราชทัณฑ์มีทิศทางและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
· กำหนดให้มีคณ
ะอนุกรรมการที่สำคัญและขึ้นตรงต่อคณะกรรมการฯ
2
คณะ ได้แก่ คณะอนุกรรมการตรวจเรือนจำ
มีอำนาจหน้าที่ให้ความเห็นและเสนอแนะในการดำเนินกิจการเรือนจำตามหลักการทางด้านอาชญวิทยาและทัณฑวิทยาแก่กรมราชทัณฑ์
รวมทั้งทำการตรวจกิจการเรือนจำและให้คำแนะนำแก่เจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่
และคณะอนุกรรมการรับเรื่องราวร้องทุกข์ มีอำนาจหน้าที่ในการรับเรื่องราวร้องทุกข์หรือเรื่องราวใด
ๆ จากผู้ต้องขัง
|
|
เป็นประเด็น
ใหม่ของ
พรบ.ราชฑัณฑ์ที่ควรได้รับการพิจารณา และดำเนินการให้สอดคล้องกับหลักการสากล
|
๑๒.
การเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย
|
·
กำหนดให้มีกระ
บวนการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย โดยให้กระบวนการนี้เริ่มต้นตั้งแต่มีการรับตัวผู้ต้องขัง
เพื่อให้สอดคล้องกับโปรแกรมการพัฒนาพฤตินิสัย
ตามที่กรมราชทัณฑ์หรือเรือนจำได้จัดเตรียมให้หลังจากผ่านระบบการจำแนกมาแล้ว
และกำหนดให้เรือนจำต้องดำเนินการจัดเตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ ให้กับผู้ต้องขัง
เพื่อให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้
|
|
เป็นประเด็น
ใหม่ของ
พรบ.ราชฑัณฑ์ที่ควรได้รับการพิจารณา และดำเนินการให้สอดคล้องกับหลักการสากล
|
[2] ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติ เมื่อ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๓๙
โดยมีผลบังคับใช้กับประเทศไทยเมื่อวันที่
๓๐ มกราคม ๒๕๔๐.
[3] ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติ
เมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๐ และมีผลบังคับใช้กับประเทศไทยเมื่อวันที่
๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๐.
[4] คัดจากคู่มือปฏิบัติ : การตรวจเยี่ยมสถานที่คุมขัง ,แปลจาก Monitoring
Places of Detention : A Practical guide ,โดยพิภพ อุดมอิทธิพงศ์ ,จัดพิมพ์และเผยแพร่โดยมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ,มิถุนายน ๒๕๕๐
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น